เชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์ บุกตลาดค้าปลีกไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “คอร์นนิสต้า”
คว้า 2 สาว “เซย่า-ณิชฎา และ มิย่า-พิชชา ทองเจือ“ ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์
พร้อมเตรียมปล่อยภาพยนต์โฆษณาครั้งแรก! ใจกลางสยามสแควร์เชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์ เผยทิศทางการบุกตลาดสร้างแบรนด์สินค้าใหม่ โดยเฉพาะสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว นับว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีสินค้าแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นกันจำนวนมาก และมูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยวมีตัวเลขสูงถึง 45,338 ล้านบาทในปี 2564
ล่าสุดเปิดตัว “เซย่า-ณิชฎา และ มิย่า-พิชชา ทองเจือ“ พรีเซ็นเตอร์คนใหม่ หวังเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยเรียน และวัยทำงาน ที่ชื่นชอบการทานขนมหวานอบกรอบ โดยจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดิลเทรด ได้แก่ Foodland, CJ Express, Jiffy, JapanMall และช่องทางออนไลน์ พร้อมเตรียมปล่อยภาพยนต์โฆษณา “คอร์นนิสต้า (Cornista)” ครั้งแรก ใจกลางสยามสแควร์ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566 นี้ เป็นต้นไปคุณอังกูร พลพิพัฒนพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราทำธุรกิจแบบ OEM มาโดยตลอดและตลาดหลักที่เราส่งสินค้าคือญี่ปุ่น เรียกได้ว่ารายได้หลักของบริษัทมาจากการรับจ้างผลิตและจัดส่งสินค้าซึ่งเรามีความพยายามในการขยายสินค้าไปยังอเมริกา ยุโรปและตะวันออกกลางด้วย สินค้าที่เราผลิตส่วนใหญ่จะเป็น ผักแช่แข็ง เช่น ถั่วแระแช่แข็ง ข้าวโพดหวานแช่แข็ง สินค้าเหล่านี้ถือว่าเราเป็นฐานการผลิตรายใหญ่ที่ส่งออกไปเกือบทั่วโลก แต่เราก็อยากที่จะขยายโอกาสใหม่ๆ ด้วยการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง และเราก็มองหาสินค้าที่เราสามารถพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ๆ และสินค้านั้นจะต้องมีความแปลกใหม่ และมีศักยภาพในการทำตลาดด้วย
ด้วยประสบการณ์ในการทำสินค้าเพื่อวางขายในญี่ปุ่นมากว่า 30 ปี เราเห็นว่าสินค้าประเภทข้าวโพดและถั่วแระญี่ปุ่นนั้นมีความต้องการและมีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย เพราะเรามีประสบการณ์ในการผลิตสินค้าประเภทแช่แข็ง เราจึงนำข้าวโพดแช่แข็งมา Freeze Dry และเติมรสชาติหวานเข้าไปแบบมีเอกลักษณ์จนได้ “คอร์นนิสต้า” ออกมาวางขายในไทย ข้าวโพดหวานแบบ Freeze Dry จะต่างกับแบบอบกรอบทั่วไป เพราะสามารถคงคุณภาพทางกายภาพได้ดีกว่าทำให้รสชาติและคุณภาพของข้าวโพดยังมีความสดใหม่และอร่อยกว่าวิธีการอบแบบดั้งเดิม ส่วนชื่อ คอร์นนิสต้า นั้น ก็มาจาก Corn + nista คำว่า นิสต้าที่เติมเข้ามานั้น เรามองว่าเป็นการขยายความความเป็นมืออาชีพของสิ่งนั้นๆ เช่น Barista (ผู้เชี่ยวชาญด้านการชงกาแฟ) Fashionista (ตัวแม่ด้านแฟชั่น) เราอยากบอกให้ทุกคนรู้ว่าเราคือมืออาชีพในการผลิต และดูแลรักษาคุณภาพของข้าวโพด จึงนำมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์และสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของเราด้วย นอกจากนั้น “Cornista” ยังออกเสียงง่าย น่าจะทำให้ผู้บริโภคจดจำชื่อแบรนด์ได้ง่ายด้วย
ในด้านการสื่อสารแบรนด์ เราตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ค่อนข้างกว้างคือทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ แต่ในช่วงเริ่มแรกเราต้องการสื่อสารและให้คนรุ่นใหม่จดจำแบรนด์ก่อน เพราะพวกเขาคือกลุ่มเป้าหมายหลักของเรา และเป็นนักท่องโซเชียล ซึ่งตรงกับพรีเซนเตอร์ที่เราเลือกมา คือ น้องมิย่า-น้องเซย่า ทองเจือ ซึ่งเป็นสาวรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์สดใสตามวัย และฐานผู้ติดตามก็เป็นคนรุ่นใหม่ทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน
“คุณอังกูร กล่าวเสริมว่า แม้เราจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผลิตสินค้า OEM แต่ในแง่ของวงการค้าปลีก เราคือมือใหม่ ทุกอย่างจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเรา เราจึงต้องปั้นทีมขึ้นมาใหม่สำหรับการดีลงาน รวมทั้งทำการตลาดเพื่อสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ ให้เหมาะสม”
ทางทีมมองว่าการเลือกพรีเซนเตอร์มาเสริม หลังจากที่วางขายสินค้ามาได้ซักพักหนึ่ง น่าจะช่วยให้สื่อสารกับ Buyer และลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะสไตล์การเล่าเรื่องแบบเราทำเอง จะต่างกับการให้คนอื่นเป็นคนเล่าให้ฟังและน้องมิย่า น้องเซย่า ก็จะเป็นตัวแทนของคอร์นนิสต้าในการเล่าเรื่องสินค้าให้น่าฟังมากขึ้นโดยเร็วๆ นี้ ก็เตรียมจะปล่อยภาพยนตร์โฆษณา ในธีมลุคคาวาอี้น่ารัก สดใส สไตล์สาวญี่ปุ่น ภายใต้คอนเซปต์ ชวนมาเป็นสาวกคอร์นนิสต้า แล้วมาลิ้มลอง ความหอมอร่อย ทานสนุก เคี้ยวเพลินกับคอร์นนิสต้า ได้ทุกที่ทุกเวลา เผยแพร่บนดิจิทัล บิลบอร์ด ย่านใจกลางสยามสแควร์ และรายการในเครือ GMM Grammy ได้แก่ รายการ รถโรงเรียน ทอล์คกะเทย อะจ๊ากมุกเด็ดฮาตับแตก เทยเที่ยวไทย เป็นต้น ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566 นี้ เป็นต้นไป
ซึ่งในภาพยนตร์โฆษณา นำเสนอความอร่อย ติดใจในรสชาติข้าวโพดหวานอบกรอบ คอร์นนิสต้า (Cornista) 2 รสชาติ โดย “น้องเซญ่า” ติดใจความหอมหวานกับข้าวโพดหวานอบกรอบเคลือบคาราเมลบัตเตอร์ และ “น้องมิย่า” ทานสนุกกับข้าวโพดหวานอบกรอบเคลือบไวท์ช็อกโกแลต เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ และวัยทำงาน ที่ชอบทานขนมรสชาติหวานหอมกำลังดี ทานสนุก เคี้ยวเพลิน แม้ในช่วงเบรกจากการเรียนหรือการทำงาน ก็อร่อยได้ทุกที่ทุกเวลา
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างที่บอกว่าเราเป็นสินค้าใหม่ ทำให้ช่องทางการจัดจำหน่ายยังเป็นช่องทางที่เราคุ้นเคยและคุยง่ายก่อน เช่น Foodland, CJ Express, Jiffy, JapanMall และช่องทางออนไลน์ เพราะร้านเหล่านี้ช่วยเราสื่อสารได้เต็มที่ และเข้าถึงผู้บริโภคได้ดี การแข่งขันในการวางสินค้าขายในเชลฟ์ยังไม่สูงเท่ากับค้าปลีกรายใหญ่ การเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่นี้ นอกจากสินค้าต้องดี ราคาจับต้องได้แล้ว เรื่องของคุณภาพแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช้ในการสื่อสารแบรนด์ก็ต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน คุณอังกูร กล่าวปิดท้าย