สภาผู้บริโภค จับมือพรรคการเมือง และนักวิชาการ แลกเปลี่ยนการตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค
สภาผู้บริโภค ผิดหวัง จี้ กสทช. ลาออก ไร้ประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภค ปล่อยควบรวมผูกขาดกิจการ ตัวแทนพรรคการเมือง นักวิชาการ เห็นด้วย ตรวจสอบละเลยปฏิบัติหน้าที่ พร้อมขอรัฐเปิดเสรีโทรคมนาคม ทางเลือกใหม่ผู้บริโภค
จาก กสทช. มีมติรับทราบการควบรวมทรู – ดีแทค และ AWN ในเครือ AIS – 3BB เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 65 และ วันที่ 10 พ.ย. 65 ตามลำดับ สภาผู้บริโภคเริ่มเห็นสัญญาณของผู้บริโภคที่สะท้อนผ่านสื่อ Social Media และการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมากขึ้น ทั้งกรณีควบรวมธุรกิจ ทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกบริการน้อยลง เกิดปัญหาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าบริการสูงขึ้น นั้น
สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมเวที “ทอล์ก ทู แอ็กชัน (Talk 2 Action) ในหัวข้อ “การตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำได้? เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจสอบ การควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม โดยมี นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรผู้บริโภค ร่วมกับ ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ องค์กรอิสระ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนความเห็นบนเวที Talk 2 Action เพื่อนำความเห็นประกอบเป็นข้อมูลออกมาตรการ และบังคับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กลไกตรวจสอบของรัฐสภา
ในโอกาสนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เสนอต่อ กสทช. ทบทวนมติการควบรวมกิจการทั้ง 2 กรณีเพราะเอื้อประโยชน์ต่อกิจการของเอกชน เปิดทางนำไปสู่การผูกขาดกิจการ อีกทั้งยังละเลยในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและขอให้ลดอัตราค่าบริการเฉลี่ยลง 12% เปิดเผยรายการส่งเสริมการขายในราคาต่ำพิเศษของผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะอย่างทั่วถึง มีช่องทางให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุม เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกซื้อโดยปราศจากข้อจำกัด ขณะที่ต้องรักษาคุณภาพ มาตรฐานการบริการไม่ให้ต่ำไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอด้านการแข่งขันที่ต้องพัฒนายกระดับการแข่งขัน เช่น ปรับโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนงบประมาณ ส่งเสริมผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ส่งเสริมให้มีบริการไวไฟและอินเตอร์เน็ตสาธารณะให้มากขึ้น รวมถึง ขอให้มีการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค โดยให้ TDRI และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้และมี Application ของหน่วยงานภาครัฐตรวจสอบคุณภาพสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ต
ขณะที่เวที Talk 2 Action ในหัวข้อ “การตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำได้? ตัวแทนพรรคการเมืองจากพรรคไทยสร้างไทย นายปริเยศ อังกูรกิตติ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ยอมรับรู้สึกผิดหวังกับการควบกิจการที่เกิดขึ้นเพราะทำให้ค่าบริการสูงแต่กลับได้คุณภาพบริการลดลง และเมื่อไม่สามารถในการยับยั่งการควบรวมได้ ในวันนี้จึงขอเรียกร้องไปยัง กสทช.ใช้อำนาจที่มีให้มีการออกประกาศราคาค่าบริการกลาง หรือราคาที่ควรจะเป็นทั้งโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตบ้าน ตามที่จะปรับลดราคาลง 12 % ซึ่งประเด็นนี้ พรรคไทยสร้างไทยยินดีร่วมผลักดัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น ราคาที่ถูกลง โดยที่ กสทช. มีอำนาจทำได้ทันที
ด้าน นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของ กสทช.ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ใช้คลื่นความถี่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ใน 2 กรณี เป็นการเลี่ยงการใช้อำนาจของ กสทช.ซึ่งการออกข้อกำหนดหลังควบรวมกิจการ มติที่เกิดขึ้นในการผลักดันให้การใช้กฎหมายทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดการเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อขจัดผู้ขาดทางเศรษฐกิจ
นายชาญวิทย์ โวหาร คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สะท้อนปัญหาที่จากการศึกษาพบว่า หลังการควบรวม ยังไม่พบการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามประกาศมาตรการ 5 ข้อหลัก ทั้งการลดราคา 12% โปรโมชั่นที่ออกมาต่างเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ไม่เป็นการลดราคาโดยเฉพาะโปรโมชั่นเพื่อผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และยังไม่พบผลการตั้งคณะกรรมการศึกษาจากผลกระทบดังกล่าวทำให้เห็นด้วยที่จะต้องมีการทบทวนอำนาจที่แท้จริงของ กสทช. หากปล่อยไว้จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการผูกขาด และความผิดหวังว่าจะได้รับการบริการที่ดีขึ้น
ด้าน นักวิชาการ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้ตั้งคำถามถึงการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ หรือไม่เพราะมีทั้งประโยชน์และความเสี่ยง การควบรวมควรเกิดประโยชน์มากกว่า แต่การควบรวมที่มีโครงสร้างเชิงผูกขาด ภาครัฐ ควรพิจารณาเพื่อไม่ให้เอาเปรียบประชาชน เกิดความเสี่ยงทำให้ผู้ประกอบการกระจุกตัว มีความเสี่ยงเกิดมีการขายข้ามตลาด บริษัทคู่แข่งไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งเชื่อว่าเอกชนมีแผนธุรกิจขายข้ามตลาด โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการต่อยอดการควบรวม ยิ่งไม่ปฎิบัติตามการกำหนดเงื่อนไขลดราคา จึงมองได้ว่าเป็นการละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค ควรระงับยับยั้งการควบรวมไว้ก่อน
สำหรับมุมมองของนักกฎหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็๋น ปัญหาการทำหน้าที่และใช้อำนาจของ กสทช. ที่ปล่อยให้มีการควบต้องตรวจสอบอำนาจที่มีให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร เพราะจาการรับทราบและอนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการใน 2 กรณีที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้ง กสทช. ควรติดตามมาตการกำหนด โดยเฉพาะการลดราคา 12% หาก กสทช. เข้าข่ายการใช้อำนาจโดยมิชอบ ขณะที่ ฝ่ายนิติบัญญัติต้องทบทวนอำนาจ กสทช. เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมแสดงความเห็น โดยยืนยันว่า การปล่อยให้มีการควบคุมกิจการทั้ง 2 กรณี ของ กสทช. เป็นปัญหาขัดรัฐธรรมนูญและการกำจัดสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการ ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในมาตรการของ กสทช. และสภาผู้บริโภคจะเดินหน้าปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคให้ดีที่สุด 4 ข้อ คือ 1.เรียกร้องให้ กสทช.ลาออกจากจากการทำหน้าที่ เนื่องจากไร้ความสามารถไม่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค
2. เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค จากการผูกขาดข้างต้น และอยากเห็นบริษัทโทรคมนาคมจะออกมาร่วมเป็นผู้นำได้หรือไม่อย่างไร
3.เตรียมยื่นฟ้องต่อศาล กรณี AIS – 3BB ควบรวมกิจการภายในระยะเวลา 90 วัน (6 ก.พ. 67) และจะยื่นคุ้มครองชั่วคราวกรณี ทรู-ดีแทค 4.ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ กสทช.ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
#สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #ผู้บริโภค #TCC
#ทอล์กทูแอ็กชัน #Talk2Action
#การตรวจสอบการควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้านทำได้?