เนคเทค สวทช. ผนึกกำลังพันธมิตร ลับคมเด็ก Gen R ย้ำ! “ทำได้ ทำเป็น” พร้อมใช้ในพื้นที่ EEC ในการแข่งขัน IoT Hackathon 2024
เนคเทค สวทช. ผนึกกำลังพันธมิตร ลับคมเด็ก Gen R
ย้ำ! “ทำได้ ทำเป็น” พร้อมใช้ในพื้นที่ EEC
ในการแข่งขัน IoT Hackathon 2024 ครั้งที่ 4 – ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 70,000 บาท
11 มีนาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค สวทช. จัดการแข่งขัน IoT Hackathon 2024 ครั้งที่ 4 ภายใต้โจทย์ Industrial AIoT Applications for Competitive & Smart Manufacturing ภายใต้ “โครงการ ขยายผลหลักสูตร Internet of Things, Industrial IoT และการประมวลผลเครื่องจักรด้วย AI สําหรับสถาบันอาชีวศึกษา” ในวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2567 ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ระยะเวลา 36 ชั่วโมง นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการแข่งขัน เตรียมความพร้อมสู่การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และเสริมทักษะ Soft Skill ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยนำเอาองค์ความรู้แบบ Outcome-Based Learning และทักษะที่ผ่านการอบรมมาใช้แก้ไขปัญหา เพื่อจะมั่นใจว่า “ทำได้ ทำเป็น”ก่อนเข้าสู่การทำงานจริงในสถานประกอบการ นำร่องพื้นที่ภาคตะวันออก(EEC)
ดร.วุฒิ ด่านกิตติกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. สายงาน EECi กล่าวว่าการจัดการแข่งขัน IoT Hackathon 2024 ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมในการพัฒนากำลังคน เสริมทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) และการประมวลผลเครื่องจักร ด้วย AI ให้แก่บุคลากรด้านอาชีวศึกษา ซึ่งการดำเนินงานด้านการพัฒนากำลังคนและพัฒนาฝีมือขั้นสูง ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจ 5 ด้านของ EECi สวทช. คือ การเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยยินดีให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้กำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ทักษะ ใหม่ (Re-skilling) และต่อยอดพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น (Up-skilling) จน อยู่ในระดับที่ต้องการ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนด้านการพัฒนากำลังคนในระยะกลางและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีทุนการศึกษาจากภาครัฐ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรมในระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรสองปริญญา โปรแกรมฝึกงานนักวิจัยหลังปริญญาเอก โปรแกรมการพบปะกับ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความชํานาญระดับสูง (Top Notch Researcher) และศาสตราจารย์ และการจัด การศึกษาในแนว STEM education
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า เนคเทค สวทช. ได้ดำเนินโครงการ “ขยายผลหลักสูตร Internet of Things, Industrial IoT และการประมวลผลเครื่องจักรด้วย AI สำหรับสถาบันอาชีว-ศึกษา” อย่างต่อเนื่อง โครงการนี้ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการที่ได้ดำเนินการมาตลอดตั้งแต่ปี 2564-2566 ตั้งเป้าหมายที่มุ่งพัฒนาวิทยาลัยต้นแบบที่มีความพร้อมทางด้านกำลังคน (ครู) เทคโนโลยี (อุปกรณ์) องค์ความรู้ (เครื่องมือ สื่อการสอน) ความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยี Internet of Things, Industrial IoT
และ AI โดยผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการในปี 2564-2566 คือ หลักสูตรและคู่มือการสอนที่สามารถสร้างบุคลากรด้าน Industrial IoT ได้แก่ หลักสูตร Internet of Things และ Industrial IoT มาประยุกต์เป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์แบบขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งได้เพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาหลักสูตรด้วยการนำเอาองค์ความรู้ทางด้าน AI มาผนวกใช้งานร่วมกับ IoT จึงเกิดเป็นเทคโนโลยี AIoT (Artificial Intelligence: Internet of Things) เป็นเทคโนโลยีและองค์ ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนา Factory 4.0
ซึ่งในปีนี้จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี AI มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในรายวัน รายสัปดาห์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมกำลังขยับเข้าสู่โลกที่โรงงานมีผู้ช่วยเป็น Artificial General Intelligence (AGI) ที่สามารถให้ข้อมูล หรือแก้ปัญหาในหลายจุด เปลี่ยนแปลงการติดต่อเชื่อมประสานระหว่างเครื่องจักรจากรูปแบบเดิม ๆ สู่ Human Interface ไม่ว่าจะเป็น AR VR การใช้ Interface ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ภาพ เสียง วิดีโอ ซึ่งทุกอย่างต้องประกอบเข้ามาในเครือข่าย IoT ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเป็นจุดแข็ง ความโดดเด่น ที่สามารถพัฒนา Carrier path ในอาชีพให้กับน้อง ๆ ในอนาคต
ความโดดเด่นของโครงการฯ ที่ดำเนินการพัฒนากำลังคนตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564 คือ มากกว่า 80% ของผู้เข้าร่วมโครงการ (ปี 2564 – 2565) ได้เข้าทำงานจริงในสถานประกอบการ ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในด้านยานยนต์, พลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับปี 2566 นักศึกษายังอยู่ในระหว่างการศึกษาและฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ นอกจากการพัฒนากำลังคนภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตสำคัญอีกอย่างหนึ่งจากโครงการฯ คือ หลักสูตรคู่มือการสอน และชุดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนด้าน Industrial IoT ที่สามารถประยุกต์สอนได้ใน 6 สาขาวิชา ได้แก่ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นสาขาวิชาเป้าหมายของโครงการฯ ดร.ชัย กล่าว
ในปีนี้การแข่งขัน IoT Hackathon 2024 ภายใต้โจทย์ Industrial AIoT Applications for Competitive & Smart Manufacturing เราจำลองสถานการณ์การแข่งขันให้เสมือนทำงานจริงอยู่หน้างาน ที่มุ่งเน้น ให้ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการอบรมนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาที่มาจากโจทย์ของภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น โจทย์ด้าน OEE, Production Monitoring, Power Management, Maintenance, Warehouse Management, Quality Control, การคำนวณหาค่า ERP, การบำรุงรักษา Motor, การทำระบบ ANDON และการทำ Monitoring Room ความพิเศษในครั้งนี้เราได้เพิ่มโจทย์เกี่ยวกับ Industrial Edge & AI เข้ามา โดยเนคเทคสนับสนุน Daysie Platform ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้งานในการจัดการและวิเคราะห์ชุดข้อมูลของโรงงานจริง นำไปสร้างเป็น Dashboard และ Analytics Report ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ได้ผ่านการอบรม การทดสอบ และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแล้วว่ามี ทักษะความสามารถตามเจตจำนงค์ของโครงการ การแข่งขัน IoT Hackathon ถือเป็นกิจกรรมเตรียม ความพร้อม ฝึกฝนการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาครั้งสุดท้ายก่อนทุกคนเข้าฝึกงานใน ภาคอุตสาหกรรม
นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ จำนวน 41 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 8 คน รวมทั้งสิ้น 49 คน จาก 6 วิทยาลัย ได้แก่ (1) วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จ.ชลบุรี นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 12 คน (2) วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จ.ชลบุรี นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 3 คน (3) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) จ.ชลบุรี นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 13 คน (4) วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยอง นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 4 คน
(5)วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา และ นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 4 คน (6) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จ.ระยอง นักศึกษาที่ร่วมแข่งขัน 5 คน เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 70,000 บาท ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ 30,000 บาท รองชนะเลิศ 20,000 บาท รองชนะเลิศอันดับสอง 10,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลๆ ละ 5,000 บาท
การแข่งขันในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอส เอ็น ซี จำกัด (มหาชน), บริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด, บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท ซินเนอร์ยี เทคโนโลยี จำกัด
ในวันสุดท้ายของกิจกรรมจะมีสถานประกอบการเข้าร่วมจัดบูธโชว์ในนิทรรศการ Job Fair เปิดโอกาสให้สถานประกอบการ และผู้เข้าร่วมแข่งขันได้จับคู่เพื่อเลือกรับน้อง ๆ เข้าไปฝึกปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ และโครงการฯจะมีการติดตามผลการฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งมีอัตราการรับน้อง ๆ นักศึกษา เข้าทำงานทันทีหลังฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ รวมไปจนถึงผู้เข้าร่วมโครงการฯ จบการศึกษา ทางโครงการยังคงติดตามภาวะการมีงานทำของผู้เข้าร่วมต่อไปในอนาค