สัมมนา 4 ภาคฯ อยุธยา: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ชูภารกิจสร้างสังคมสื่อที่สร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยยุทธศาสตร์ 6 สร้าง บนเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ ที่อยุธยา
กระตุ้นเครือข่ายคนทำสื่อ คนใช้สื่อระดับภูมิภาค แชร์พลังความคิด ความร่วมมือ พิชิต 2 ภารกิจหลัก

(วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567) คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวที “สัมมนา 4 ภาค ขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่ชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง” ปีที่ 2 ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผนึกกำลังคนทำสื่อ คนผลิตสื่อ คนใช้สื่อขับเคลื่อนสังคมในภาคกลาง ร่วมกันแชร์พลัง แชร์ความคิด แชร์ความร่วมมือในการสร้างนิเวศสื่อที่ดีกับ 2 ภารกิจหลัก เป็นพลเมืองคุณภาพที่รู้เท่าทันสื่อ และเป็น Content Creator ที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ดี ๆ กลบคอนเทนต์แย่ ๆ สร้างสมดุลนิเวศสื่อที่ดี พร้อมเผยยุทธศาสตร์ 6 สร้าง ได้แก่ สร้างสื่อ สร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเครือข่ายและสร้างองค์กร

นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวเปิดงานว่า “งานสัมมนา 4 ภาคฯ จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของสื่อในระดับภูมิภาค ในชุมชน ในท้องถิ่น จึงจัดเวทีให้เครือข่ายได้มาพบปะกัน ทั้งคนทำสื่อ คนผลิตสื่อ และคนใช้สื่อเพื่อขับเคลื่อนสังคม อยากเห็นความร่วมมือของเครือข่ายในการช่วยกันขับเคลื่อนให้คนในสังคมรู้เท่าทันสื่อในพื้นที่ ในชุมชน ในภูมิภาคของตนเอง ช่วยกันคิดกลไกในการขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างนิเวศสื่อที่ดี”

โดยเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ ที่อยุธยา ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ “10 ปี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก้าวผ่าน การเปลี่ยนแปลงสู่เส้นทางอนาคต” โดยกล่าวว่า 10 ปีของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้หยั่งรากลึกแล้ว แต่เครือข่ายจะต้องสานต่อ 2 ภารกิจสำคัญ ได้แก่ เป็นพลเมืองคุณภาพที่รู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศยุคดิจิทัล และเป็นเครือข่ายที่ไม่ใช่แค่ผู้รับสื่อเท่านั้น แต่ต้องเป็น Content Creator ที่สร้างสรรค์ด้วย ยิ่งสร้างคอนเทนต์ดีๆในพื้นที่สื่อมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เกิดความสมดุลในพื้นที่สื่อมากขึ้นเท่านั้น สามารถกลบคอนเทนต์แย่ๆ ได้ เรียกว่าเกิดระบบนิเวศสื่อที่ดี 

พร้อมเผยยุทธศาสตร์ 6 สร้าง กระตุ้นให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้แก่ สร้างสื่อ สร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเครือข่ายและสร้างองค์กร เผยแผนในอนาคต มี 3 ด้าน คือ TMF Academy แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านสื่อสารมวลชนและการสื่อสาร, ขับเคลื่อนงานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  อีกทั้งยังมี 3 พันธกิจสำคัญ ได้แก่ สนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายทุกภาค, พัฒนาองค์ความรู้ ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, พัฒนาองค์กร ไปสู่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงเพื่อการขับเคลื่อนภารกิจด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

          จากนั้น ดร. ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้บรรยายพิเศษ หัวข้อ “คิด เขียน ข้อเสนอโครงการฯ ขับเคลื่อนและพัฒนาเครือข่ายสื่อฯ ที่ยั่งยืน” โดยเปิดเผยว่า การเขียนโครงการของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะต้องมี “ความปลอดภัย” คือเป็นข้อเท็จจริง มีความเป็นกลาง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ สามารถนำไปสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ และถ้ามี “ความสร้างสรรค์” ด้วย ก็จะทำให้น่าสนใจ น่าติดตามยิ่งขึ้น ที่สำคัญคนธรรมดาก็สามารถขอทุนได้แค่มีบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น

           สำหรับเวทีเสวนา “แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมกันสร้างนิเวศสื่อปลอดภัยสู่สังคม” ที่จังหวัดอยุธยา มีวิทยากรตัวแทนในภาคกลาง  ที่เป็นกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ถึง 4 ท่านด้วยกัน ได้แก่

ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดีวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องสร้าง Impact ให้กับสังคม สื่อที่สร้างสรรค์ ต้องเริ่มจากคนที่อยู่ในกระบวนการผลิตสื่อ เปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือเปลี่ยน Mind Set  จนกลายเป็น Change Agent เป็นต้นแบบให้คนอื่น ประการที่สองคือ สื่อนั้นต้องสร้าง Action หรือทำให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง  พลังของการสื่อสาร คือคำว่า “We Power” ไม่ใช่พลังของผู้สื่อสารคนเดียว แต่เป็นพลังของทุกคนที่มีส่วนร่วม เป็นยุคของ Collaboration หรือความร่วมมือ

นายประกาศ เปล่งพานิชย์ คณะทำงาน/เลขานุการ คณะทำงานบริหารและหน่วยเลขานุการกิจสมัชชาสุขภาพ จังหวัดปทุมธานี  สะท้อนมุมผู้ใช้สื่อว่า สื่อบางประเภทไม่ได้ไปตอบโจทย์ผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมาย จึงควรวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ดี  คุณพวงเพชร สุพาวาณิชย์ ผู้รับทุนโครงการมะปรางหวานกับบ้านบินได้ ทิศที่ก้าวและโครงการมหัศจรรย์เมล็ดพันธุ์เหนือมิติ แนะคนที่สนใจขอทุนว่า ต้อง “รู้ รัก พร้อม” คือ ทำในสิ่งที่รู้ มีความรู้ก่อนเขียนโครงการ รักหรือสนใจ จริงใจในการสื่อสาร และมีความพร้อม เตรียมตัวอย่างดีและควรมีภาคีเครือข่ายร่วมด้วย

สุดท้าย นายอภินันท์ บัวหภักดี ช่างภาพสารคดี และผู้รับทุนโครงการผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และเทิดทูนคุณค่าช้างไทยและชาวชาติพันธุ์กูย แนะนำการใช้ภาพเป็นสื่อ ว่า “ภาพที่เล่าเรื่อง” ได้ จะต้องพิจารณาเรื่ององค์ประกอบศิลป์ และใส่เนื้อหาของภาพเข้าไปด้วย โดยต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าภาพนี้คืออะไร ต้องการเล่าเรื่องราวอะไร ที่สำคัญคือเป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อความเด่นดังเฉพาะบุคคล

ส่วนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีการระดมความคิดและนำเสนอแผนงานภายใต้โครงสร้าง Problem-based Design” โดยตัวแทนจากภาคีเครือข่ายจากภาคกลาง นำเสนอเรื่อง มุมชวนมอง อ่างทอง นนทบุรี, Slow Life อู่ไทธานี,  ท่องเที่ยว ท่องเกษตร ท่องวัฒนธรรม, แว่วเสียงสำเนียงอีแซว ภายใต้การดูแลของวิทยากรกระบวนการ คุณฐาณิชชา ลิ้มพานิช  กรรมการบริษัท ส่งเสริมพ่อแม่เพื่อสังคม จำกัด มีวัตถุประสงค์ “จะทำอย่างไรให้เกิดการขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้ทันสถานการณ์และยั่งยืนได้ในท้องถิ่น?” ติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊กเพจ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ https://www.thaimediafund.or.th/

Spread the love
fuckidols.com sexy blonde creampie pov.
i was reading this https://banglachotixxx.me/
error: Content is protected !!