ไทยร่วมส่งเสียงอันทรงพลังกับเครือข่ายกว่า 270 องค์กรทั่วโลก เรียกร้องธนาคารโลกหยุดสนับสนุนฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 นักรณรงค์จากองค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอล ประเทศไทย (Sinergia Animal Thailand) และ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection Thailand) ร่วมกับองค์กรและเครือข่ายพันธมิตรกว่า 270 แห่งจากทั่วโลก ร่วมเคลื่อนไหวในวันรณรงค์ระดับโลก เพื่อเรียกร้องให้ธนาคารโลก (World Bank) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation หรือ IFC) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินในเครือของธนาคารโลก (World Bank Group) ยุติการให้เงินทุนสนับสนุนการทำฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม โดยนักรณรงค์ได้ร่วมกันยื่นจดหมายต่อตัวแทนสำนักงานธนาคารโลก กรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ยุติการลงทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำฟาร์มเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม คุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งบ่อนทำลายเป้าหมายความยั่งยืนในระดับโลก
 

กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ซึ่งรวมถึงบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ หรือ IFC เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ให้สินเชื่อและเงินทุนแก่โครงการต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความยากจนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดกลับชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมของธนาคารโลกที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบันนั้น กลับขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างชัดเจน เนื่องจากมีส่วนทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำให้สถานการณ์สุขภาพของประชาชนแย่ลง
 
แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการลงทุนของธนาคารโลกในฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยก็ตาม แต่ประเทศก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการลงทุนในระดับโลกเหล่านี้ รัฐบาลไทยถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงในธนาคารโลกอยู่ที่ร้อยละ 0.51 ซึ่งหมายความว่าเงินสาธารณะของไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมที่ส่งผลเสียหายในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน 


คุณศนีกานต์ รศมนตรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยขององค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอล ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นในธนาคารโลก นั่นหมายความว่ารัฐบาลของเรามีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะนำเงินไปลงทุนในโครงการใด เราไม่ต้องการให้เงินสาธารณะของไทยถูกนำไปสนับสนุนการทำฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ที่สร้างความเสียหายต่อชุมชน สัตว์ และโลกของเรา”
 
 “นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ธนาคารโลกต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอาหารที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรม ซึ่งจะช่วยปกป้องประชาชน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยใช้สิทธิออกเสียงในธนาคารโลกที่เรามี เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้” คุณศนีกานต์ รศมนตรี กล่าวเสริม
 
แม้ว่าประเทศไทยจะมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ผลกระทบจากการลงทุนในฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมระดับโลกนั้นก็เริ่มส่งผลต่อประเทศไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงขึ้น การตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาเชื้อดื้อยา (antimicrobial resistance) ความไม่มั่นคงทางอาหาร รวมถึงเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วต่างๆ
 


รายงานวิจัยล่าสุดจากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เผยให้เห็นช่องโหว่ที่สำคัญในนโยบายปัจจุบันของธนาคารโลกและ IFC ได้แก่ การขาดความโปร่งใส ความล้มเหลวในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกรอบระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ และการปกป้องสิทธิในที่ดินของชุมชนและมาตรฐานแรงงานอย่างไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น:
 
          ●   ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ธนาคารโลกยังละเลยการจัดการผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากการผลิตปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม โดยไม่มีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) ขาดการรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซอย่างเพียงพอ และไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทานด้านการเกษตร
          ●   ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน: ไม่มีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องในสัตว์ ไม่มีข้อจำกัดที่ชัดเจนต่อสารเคมีอันตราย และไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการจัดการมลพิษจากของเสียจากสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรม
          ●   ความยั่งยืนของระบบอาหาร: ทั้งสองหน่วยงานยังคงให้ความสำคัญกับการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม โดยขาดกลยุทธ์สนับสนุนระบบอาหารจากพืชหรือระบบอาหารในท้องถิ่น การส่งเสริมโปรตีนทางเลือก รวมถึงไม่ได้แก้ไขปัญหาความอยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในภาคเกษตรกรรม
 


“การทำฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมกำลังเร่งให้เกิดวิกฤตระดับโลก และประเทศไทยก็กำลังได้รับผลกระทบโดยตรง เราเผชิญกับน้ำท่วมที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น คลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้น และมลพิษทางอากาศในระดับอันตรายที่คุกคามสุขภาพของผู้คนนับล้าน ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า และเลวร้ายลงเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามต่อสุขภาพสาธารณะ และความเปราะบางของระบบอาหาร ไม่ได้หยุดอยู่แค่พรมแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศไทยจำเป็นต้องแสดงจุดยืน เพื่อปกป้องประชาชน สิ่งแวดล้อม และอนาคตของพวกเราทุกคน” คุณโชคดี สมิทธิ์กิตติผล หัวหน้าฝ่ายโครงการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าว
 
ในการตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ องค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคมจำนวนกว่า 270 แห่ง ซึ่งรวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนระดับนานาชาติและในประเทศ นักวิชาการ เกษตรกร และนักเคลื่อนไหว ได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารระดับสูงของธนาคารโลกและ IFC โดยเรียกร้องให้ทั้งสองสถาบัน
 
          ●   จัดทำนโยบายยุติการสนับสนุนทางการเงินแก่ฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการ
          ●   ยุติการลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเปลี่ยนทิศทางการลงทุนไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและให้สวัสดิภาพสัตว์ในระดับสูง
 
“เวลาของเรากำลังจะหมดลง ธนาคารโลกไม่สามารถอ้างว่าเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาความยากจนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ หากยังคงสนับสนุนระบบที่ทำลายโลก และทำร้ายผู้เปราะบางที่สุด รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ เราต้องการความเป็นผู้นำที่กล้าหาญในเวลานี้ โดยเริ่มต้นจากการยุติการสนับสนุนฟาร์มอุตสาหกรรมทั้งหมด” คุณโชคดี สมิทธิ์กิตติผล กล่าวเสริม
 

กลุ่มนักรณรงค์ยังเน้นย้ำว่า ประเทศไทยไม่ควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนระบบฟาร์มอุตสาหกรรมที่สร้างความเสียหาย ผ่านบทบาทในฐานะผู้ถือหุ้นของธนาคารโลก ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในการส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน มีจริยธรรม และมีความสามารถในการฟื้นตัวรองรับอนาคตได้อย่างแท้จริง
 
อ่านจดหมายฉบับเต็มได้ที่นี่: จดหมายถึงธนาคารโลก
 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันรณรงค์ระดับโลก: StopFinancingFactoryFarming.com

รายงานฉบับเต็ม: Fostering Humane and Sustainable Food Systems โดย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก: https://bit.ly/fostering-humane-and-sustainable-food-systems

Spread the love
fuckidols.com sexy blonde creampie pov.
i was reading this https://banglachotixxx.me/
error: Content is protected !!