#ลูกท้อกับหยกงาม​ ในห้วงเวลาที่จีนประสบวิกฤติโรค Covid-19

#ลูกท้อกับหยกงาม

วันนี้​#ThailandMovement​ ได้อ่านพบบทความ​ดี​ ๆ​ อยากนำมาแบ่งปัน​  โดยผู้เขียน คือ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา เจ้าของเพจ  Facebook :Vespada Acadamy      ลองอ่านกันนะคะ

++++++++++++++++++++++++++

 

ในห้วงเวลาที่จีนประสบวิกฤติโรคโควิด19 นอกจากจะต้องต่อสู้กับไวรัสร้ายกาจแล้ว ยังต้องเผชิญหน้ากับการเหยียดหยามด่าทอจากคนฝั่งยุโรปและอเมริกา ผู้นำอเมริกาเรียกโรคนี้ว่า “Chinese virus” หรือ “Wuhan virus” , เจสซี วัทเทอร์ส พิธีกรข่าวของ Fox News บริภาษคนจีนว่าเป็นตัวแพร่เชื้อและเรียกร้องให้ผู้นำจีนออกมาขอโทษ​ประชาคมโลก ที่น่าอดสูยิ่งกว่านั้น มีข่าวการทำร้ายคนจีน ลามถึงคนเอเชียตามที่สาธารณะในแต่ละประเทศของยุโรปและอเมริกา

เหตุการณ์เช่นนี้ นอกจากจะแสดงภยาคติ คืออคติที่เกิดจากความหวาดระแวง ความหวาดกลัวของชาวตะวันตกที่มีต่อคนจีน รวมไปถึงคนเอเชียแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความหยาบกระด้าง ความไร้เมตตาปรานีต่อมนุษย์ด้วยกันตามวิสัยพวกล่าอาณานิคม

จีนตอบโต้ด้วยท่าทีที่สุขุมและฉลาดว่า “ไวรัส คือศัตรูของมวลมนุษยชาติ และผู้ติดเชื้อทั่วโลกก็คือเหยื่อ” และในการรับมือกับไวรัสโควิด19 ครั้งนี้ จีนก็ได้แสดงให้ชาวโลกเห็นแล้วว่า นอกจากจะต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล จีนยังเป็นชาติที่มีวินัย อดทน เข้มแข็ง สามัคคี และมีผู้นำที่ชาญฉลาด เด็ดขาด ฉับไว ใส่ใจดูแลประชาชนอย่างจริงจัง สุนทรพจน์เรื่อง “ปีนี้เงียบนัก” 《这个年很静ซี่งมีเนื้อหากล่าวปลอบใจประชาชนจีนในห้วงเวลาแห่งความหมองหม่น ทั้งที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวันตรุษจีน เขียนด้วยภาษากวีอันไพเราะงดงาม ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงท่านก็อ่านด้วยเสียงนุ่มนวลแต่หนักแน่น ได้จังหวะจะโคน สื่อนัยแห่งความจริงใจในการแก้ปัญหาและพร้อมจะนำพาประชาชนก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

เมื่อจีนผ่านพ้นวิกฤติโควิด19 ไปได้ จีนไม่ลังเลที่จะแสดงบทบาทเป็น “มหามิตร” กับชาวโลก ในวันที่ 18 มีนาคม 2563 耿爽 (Geng Shuang เกิ๋งส่วง) รองผู้อำนวยการฝ่ายข่าวและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวว่า ประเทศจีนประกาศให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่นานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทย และบริจาคเงิน 20 ล้านดอลลาร์แก่องค์การอนามัยโลกเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศต่างๆ มากมาย มี อิตาลี ฝรั่งเศส เป็นต้นในการต่อสู้กับโรคระบาดไวรัสโควิด19 นี้

Geng Shuang

ในคำแถลง Geng Shuang ยกสำนวนจีนมาประกอบว่า

“投我以木桃,报之以琼瑶,这是中华民族的传统美德。”
Tóu wǒ yǐ mù táo, bào zhī yǐ qióngyáo, zhè shì zhōnghuá mínzú de chuántǒng měidé.

แปลความว่า
ท่านให้ลูกท้อแก่เรา เราตอบแทนท่านด้วยหยกงาม นี้คือคุณธรรมอันดีงามที่เราชาวจีนยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีมาช้านาน”    (ผู้เขียนเป็นผู้แปล)

วลี 投我以木桃 , 报之以琼瑶 。 มาจากสำนวน 投桃报李 (tóu táo bào lǐ , โถวเถาเป้าหลี่) แปลว่า ท่านมอบลูกท้อแก่เรา เราตอบแทนท่านด้วยลูกลี้ แปลโดยนัยอีกชั้นว่า ตอบแทนน้ำใจซึ่งกันและกัน สำนวนจีนสำนวนนี้ตรงกับสำนวนไทยว่า หมูไปไก่มา ซึ่งแปลความเหมือนกันคือ ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกัน

cr sohu.com

สำนวน 投桃报李 มีที่มาจากซือจิง คัมภีร์รวมบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน (น่าจะมีอายุ 3000 กว่าปี) เป็นสำนวนที่แสนโรแมนติก มีเนื้อหาว่าหญิงสาวมอบลูกท้อแก่ชายหนุ่มด้วยความสิเน่หา ชายหนุ่มก็มอบลูกลี้ ซึ่งสื่อนัยถึงของมีค่าแก่หญิงสาวเพื่อแสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มตีค่าความรักไว้สูงส่ง

สำนวนนี้พัฒนาความหมายกลายเป็นคำสอนว่า การให้และการตอบแทนเป็น 礼 ( lǐ , หลี่) คือเป็นพิธีรีตองที่พึงปฏิบัติ และเป็น 美德 (měidé , เหม่ยเต๋อ) คือคุณธรรมที่หยั่งรากในวัฒนธรรมจีน

คำว่า 报 เป็นคำหลายความหมาย นอกจากจะแปลว่า แจ้ง , บอก, รายงาน, ประกาศ, หนังสือพิมพ์ (日报 หนังสือพิมพ์รายวัน) แล้ว ยังแปลว่า ตอบแทน, แก้แค้น เช่น

报仇 bàochóu เป้าโฉว =แก้แค้น
报答 bàodá เป้าต๋า= ตอบแทน
报恩 bào’ēn เป้าเอิน=ตอบแทนบุญคุณ
报国 bàoguó เป้ากวั๋ว=ตอบแทนประเทศชาติ

คำว่า ในสำนวน 投桃报李 จึงมีความหมายมากกว่าการแลกสิ่งของกำนัลด้วยไมตรีจิตอย่าง “หมูไปไก่มา” ในสำนวนไทย เมื่อเปลี่ยนคำว่า 李 คือลูกลี้ เป็น 琼瑶(qióngyáo, ฉวิงเหยา) คือหยก สะท้อนให้เห็นว่าคนจีนให้ความสำคัญแก่คุณธรรมน้ำมิตร มีบุญคุณต้องทดแทน จีนประเมินค่าการตอบแทนเทียบเท่ากับหยกงาม ซึ่งเป็นของมีค่าและมีนัยลึกซึ้งทางวัฒนธรรมจีน

คำแถลงของ Geng Shuang จึงย้ำว่า การที่จีนช่วยเหลือประชาคมโลกครั้งนี้ เป็นการตอบแทนประเทศต่างๆ ที่ให้กำลังใจ แบ่งปัน เอื้อเฟื้อแก่จีนในยามที่จีนย่ำแย่ การตอบแทนนี้เป็น “คุณธรรมอันดีงามที่เราชาวจีนยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีมาช้านาน”

Cr.Twitter

โลกทัศน์เรื่องคุณธรรมน้ำมิตรเป็นโลกทัศน์ของชาวตะวันออก ที่หล่อหลอมให้ชาวตะวันออกนอบน้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เห็นอกเห็นใจกัน ขณะที่ชาวตะวันตกไม่ (น่าจะ) มีโลกทัศน์ชุดนี้ ตะวันตกเน้นปัจเจกชน เน้นสิทธิของตน เมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ ชาวตะวันตกจึงตื่นตระหนก รับมือสถานการณ์อันเลวร้ายไม่ทัน และยังกล่าวโทษคนเอเชียด้วยอคติที่มีอยู่แล้ว

 

วันนี้จีนไม่ใช่ “คนขี้โรคแห่งเอเชีย” แต่เป็น “มังกร” ที่ผงาดโดดเด่นในเวทีโลก เข้มแข็งเกรียงไกรทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี ในขณะเดียวกัน จีนเป็นคนสุภาพ อ่อนน้อม แต่ก็พร้อมเผชิญหน้า ตอบโต้ผู้ไม่หวังดีอย่างสุขุม

ในอีกมุมหนึ่ง จีนจึงตอบโต้ประเทศที่กล่าวโทษประเทศจีนด้วยคำพูดที่สุภาพ แต่เสียดสีอยู่ในที ผ่านคำแถลงของ Geng Shuang ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 ตอบโต้นักวิชาการชาติตะวันตกที่กล่าวหาว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากจีนมีเชื้อโควิด19 ว่า

“如果有人说‘中国制造有毒’,那么请说这种话的人面对新冠肺炎疫情肆虐,不要戴中国制造的口罩,不要穿中国生产的防护服,不要用中国出口的呼吸机,以免染上病毒。”

“หากมีผู้ใดพูดว่า ‘ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของจีนมีเชื้อไวรัส’ ขอให้คนที่พูดเช่นนี้ซึ่งกำลังเผชิญกับความหายนะของโรคโควิด19 ไม่ต้องคาดหน้ากากอนามัยที่จีนผลิต ไม่ต้องสวมชุดป้องกันเชื้อโรคที่จีนผลิต ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจที่จีนส่งออก เพื่อจะได้ไม่ติดเชื้อ” (ผู้เขียนเป็นผู้แปล)

(แปลง่ายๆว่า “มรึงกลัวกรู มรึงรังเกียจกรู มรึงก็อย่ารับความช่วยเหลือจากกรู !!!)

 

Geng Shuang ตบท้ายคำแถลงตอบโต้ว่า

“在这场国际社会与新冠病毒的斗争中,请尊重事实、尊重科学、尊重他人。最重要的是,尊重自己。即使科学暂时无法到达的地方,文明还会到达。”

“ในขณะที่ประชาคมโลกกำลังต่อสู้กับไวรัสโคโรนา ขอให้ทุกคนยึดถือข้อเท็จจริง เชื่อมั่นวิทยาศาสตร์ ให้เกียรติผู้อื่น ที่สำคัญ เคารพตนเอง แม้วิทยาศาสตร์ยังเข้าไม่ถึงทุกพื้นที่ในระยะเวลาอันสั้นนี้ แต่ความอารยะ (คือจิตสำนึก คุณธรรม) สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ได้ (มีความหมายโดยนัยว่าแม้ขณะนี้วิทยาศาสตร์ยังเข้าไปช่วยในทุกพื้นที่ไม่ได้ แต่ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกและคุณธรรม วิกฤตนี้จะผ่านพ้นไปได้)” (ผู้เขียนเป็นผู้แปล)

จีนไม่ได้เป็นแค่ “มังกรผงาดฟ้า” เท่านั้น แต่จีนยังเป็น “หยกงาม” เป็นผู้มีอารยะ มีน้ำใจ อดทน อดกลั้น เผชิญหน้ากับทุกปัญหาด้วยความสุขุม สงบนิ่ง และสง่างาม

 

ขอบคุณ​ บทความ​ต้นฉบับ​ จาก

ลูกท้อกับหยกงามในห้วงเวลาที่จีนประสบวิกฤติโรคโควิด19 นอกจากจะต้องต่อสู้กับไวรัสร้ายกาจแล้ว…

โพสต์โดย Vespada Academy เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2020

 

ประวัติผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา
 การศึกษา : ปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติโดยย่อ

  • นักเขียนนักวิจารณ์ สังกัดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • เป็นอดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
  • จบการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอกภาษาไทย (เกียรตินิยมอันดับ ๒) และศึกษาต่อจนสำเร็จระดับปริญญาโทและเอกด้านวรรณคดีไทยที่สถาบันเดิม จนมาเป็นอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านวรรณคดีโบราณ วรรณกรรมปัจจุบัน วรรณกรรมวิจารณ์ และภาษาไทย รวมทั้งเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรมด้วย
  • ผลงานทางสังคมรวมถึงการเป็นกรรมการพิจารณาและกรรมการตัดสินรางวัลวรรรกรรมหลายวาระ เช่น รางวัลซีไรต์
  • เป็นกรรมการคัดสรรหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน
  • กรรมการคัดเลือกวรรณคดีมรดกและวรรรกรรมแห่งชาติของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
  • กรรมการจัดทำหนังสือแนวการอ่านวรรณคดีและวรรรกรรมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา เคยได้รับรางวัลบทความวิจารณ์วรรรกรรมดีเด่นของกองทุน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
  • รางวัลบทความดีเด่นของกองทุน ม.ร.ว. อายุมงคล โสณกุล ในปีถัดมา
  • นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในปี ๒๕๕๐
  • เคยร่วมงานวิจัยเรื่อง “โลกทัศน์และพลังทางสุนทรีนะในวรรณกรรมไทย (พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๔๗)” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัยเรื่องสั้นและยังดำเนินการวิจัยเรื่อง “สื่อกับการสร้างเรื่องเล่าและอิทธิพลต่อสังคมไทยปัจจุบัน” ให้กับสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ด้วย

รางวัลที่เคยได้รับ :
ผลงานที่ผ่านมา :
๑. วรรณสารภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๑ – ๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑ – ๒ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แบบเรียนภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
๒. พ.ศ. ๒๕๔๙ “หอมโลกวรรณศิลป์ : การสร้างสุนทรีย์ทางวรรณคดีไทย” สำนักพิมพ์ปาเจรา

Cr.ocac.go.th

Spread the love
fuckidols.com sexy blonde creampie pov.
i was reading this https://banglachotixxx.me/
error: Content is protected !!