นักวิชาการจี้ใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูก่อนส่งผู้ต้องขังคืนสู่สังคม

อาเซียนแชมป์ผู้ต้องขังหญิงล้นคุก
นักวิชาการจี้ใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูก่อนส่งผู้ต้องขังคืนสู่สังคม
งานวิจัยเผยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราผู้ต้องขังหญิงสูงสุดในโลก คดียาเสพติดครองแชมป์กว่า 80% เหตุเกี่ยวข้องปัญหาสังคม ความยากจน ความรุนแรงในครอบครัว ด้านนักวิชาการหนุนใช้ยุติธรรมทางเลือก สร้างกรอบการบำบัดฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ หวังสร้างชีวิตหลังพ้นโทษอย่างมีคุณภาพ
ลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ

ร็อบ อัลเลน นักวิจัยอิสระเปิดเผยถึงผลวิจัยเรื่องการส่งต่อผู้ต้องขังหญิงคืนสู่สังคม (Social reintegration) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาว พม่า สิงคโปร์ และไทย มีอัตราการจำคุกในเพศหญิงต่อจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมดมากที่สุดในโลก คิดเป็น 10% ของจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด โดย 4 ใน 5 ของการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงในไทยและอินโดนีเซียมีมูลเหตุของการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด

เมื่อพิจารณาถึงคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิง พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้ต้องขังหญิงข้องเกี่ยวกับยาเสพติดมาจากปัญหาความยากจน และต้องการหารายได้มาจุนเจือครอบครัว โดยผู้ต้องขังหญิงในคดียาเสพติดมักจะถูกบังคับ หรือ ถูกทำร้ายร่างกาย ให้เป็นผู้ค้ายาหรือส่งต่อ ซึ่งผู้ต้องขังหญิงที่ผ่านประสบการณ์เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงในการกระทำผิดซ้ำ ส่วนการครอบครองยาเสพติดไว้เพื่อเสพเป็นปัจจัยรองลงมา ซึ่งเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้หญิงใช้ยาเสพติด มาจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

อัลเลน กล่าวเสริมว่า การแก้ไขปัญหานักโทษล้นเรือนจำนั้น จำเป็นต้องมองปัญหา และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นตอจนถึงแนวทางแก้ปัญหา ไม่เพียงแค่การศึกษาเหตุจูงใจในการกระทำผิด การบำบัดฟื้นฟูเพื่อคืนผู้ต้องหญิงคืนสู่สังคม แต่ยังควรคำนึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่หลังพ้นโทษอย่างมีคุณภาพ การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่อการส่งกลับสู่ครอบครัว นอกจากนี้ รัฐบาล และภาคประชาสังคมควรมีบทบาทในการสนับสนุนชีวิตหลังพ้นโทษอย่างมีคุณภาพอย่างจริงจัง  ทั้งการสนับสนุนทางการเงินหรือกลไกความร่วมมือในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

บำบัด-ฟื้นฟู ลดทำผิดซ้ำ
มิวเรียล จอร์แดน เอธวินยอน เจ้าหน้าที่ด้านการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแห่ง UNODC กล่าวว่า กระบวนการบำบัดฟื้นฟูก่อนส่งคืนผู้ต้องขังสู่สังคมเป็นขั้นตอนที่มีข้อผูกพันกับกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ ทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีด้านสิทธิมนุษยชน ข้อกำหนดเนลสันเเมนเดลลา (Mandela Rules) ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง รวมถึงข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของสหประชาชาติว่าการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง

กฎกติการะหว่างประเทศทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อการลดอัตราการกระทำผิดซ้ำและมุ่งสร้างความปลอดภัยต่อสาธารณะ ปัจจุบันงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า กระบวนการบำบัดฟื้นฟูก่อนส่งคืนผู้ต้องขังหญิงสู่สังคมผ่านการให้การศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดอัตราการกระทำผิดซ้ำได้ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ต้องขังหญิงที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงถึง 50% นับตั้งแต่ปี 2543

ทั้งนี้ ขั้นตอนการส่งคืนผู้ต้องขังสู่สังคมจำเป็นต้องกระทำตั้งแต่ก่อนพ้นโทษไปจนถึงพ้นโทษไปแล้ว เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมดของเหตุจูงใจการกระทำผิดซ้ำตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางของปัญหา เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหายาเสพติด ความยากลำบากในการหาที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ หลังพ้นโทษ

สำรวจความก้าวหน้า “การลดการกระทำผิดซ้ำ” ในโบลิเวีย-อินโดฯ
มิวเรียล กล่าวว่า เพื่อเป็นการลดอัตรากระทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษ ในโบลิเวียมีการอบรมให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูงอย่างอุตสาหกรรมก่อสร้าง และยังมีรายได้สูงกว่ารายได้ขั้นต่ำถึง 25% โดยมองว่า การอบรมเป็นการเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ ทำให้มีความมั่นคงทางการเงิน และทำให้กลับไปสู่ชีวิตปกติอย่างยั่งยืน ไม่กระทำผิดซ้ำอีก นอกจากนี้ ในโบลีเวียเอง ยังมีความร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการก่อสร้างหญิง ช่วยสนับสนุนและให้โอกาสในการทำงาน ไปจนถึงการก่อร่างสร้างกิจการของตัวเอง

ไอชยา ยูลีอานี เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการความยุติธรรมอาญา UNODC กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาก่อนพ้นโทษ ผู้ต้องขังหญิงของอินโดนีเซียจะได้การสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนพ้นโทษ เช่น การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต การบำบัดการติดบุหรี่ การได้รับโอกาสในการพบเจอสมาชิกในครอบครัว

ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียมีความก้าวหน้าด้านกฎหมายเช่นกัน โดยมีการตรากฎหมายที่ระบุให้ครอบครัวที่พบสมาชิกในครอบครัวมีอาการติดยาเสพติดต้องมีการรายงานต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายนี้มีส่วนช่วยในการให้ครอบครัวเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้รับการยอมรับและกลับมาสู่สังคมและครอบครัวได้ง่ายยิ่งขึ้น

อัตราการทำผิดซ้ำผู้ต้องขังหญิงไทยสูง
ชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยหรือ TIJ กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมราชทัณฑ์พบว่า ประเทศไทยมีนักโทษจำนวนประมาณ 380,000 ราย เป็นผู้ต้องขังหญิงราว 48,000 ราย คิดเป็น 12.6% มีอายุเฉลี่ยที่ 34 ปี ส่วนใหญ่ได้รับโทษจำคุก 2-5 ปี (44%) ตามด้วย 5-10 ปี (18%) และ 20-50 ปี (10%) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้กระทำผิดมีมูลเหตุจากคดียาเสพติดคิดเป็น 83% ตามด้วยคดีลักทรัพย์ 10.3% และคดีประทุษร้ายทำร้ายร่างกาย 1.4%  ในแง่ของการศึกษา ผู้ต้องขังหญิงถึง 2 ใน 3 ได้รับการศึกษาต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 80% ของผู้ต้องขังอยู่ในสถานะ “แม่”

อัตราการกระทำผิดซ้ำมีสูงถึง 34% ในกลุ่มผู้ต้องขังหญิงที่พ้นโทษไปแล้ว 3 ปี ตามด้วยผู้ต้องขังที่พ้นโทษไปแล้ว 2 ปี (26%) และผู้ต้องขังที่พ้นโทษไปแล้ว 1 ปี (14.5%) ซึ่งอัตราการกระทำผิดซ้ำนั้นมีสาเหตุหลัก
2 ประการ ได้แก่ 1. ขาดการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากปัญหานักโทษล้นคุก 2. ปัญหาที่ประสบหลังพ้นโทษ เช่น การถูกตีตราจากสังคม ความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ ปัญหาว่างงาน ครอบครัวแตกแยก และปัญหาที่อยู่อาศัย

สำหรับประเทศไทย มีความพยายามในการลดอัตราการกระทำผิดซ้ำหลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น การจัดให้มีโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิงก่อนส่งคืนสู่สังคม การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ หรือ ศูนย์ CARE โดยกรมราชทัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังให้มีงานทำ สอดคล้องกับภูมิหลังหรือวิถีชีวิตจริงนอกเรือนจำท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ เมื่อต้นปี รัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนการจ้างงานผู้ต้องขังหลังพ้นโทษของภาคธุรกิจและกิจการเพื่อสังคมผ่านมาตรการภาษี

ขณะเดียวกัน TIJ ยังได้ส่งเสริมรูปแบบความร่วมมือในรูปแบบภาคีพันธมิตรทางสังคม (Social partnership model) โดยสร้างความร่วมมือจากพันธมิตรทางสังคม 9 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญภายนอก นักบำบัดวิทยา ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างสุขภาพใจ การจัดการการเงิน การพัฒนาอาชีพ การวางแผนธุรกิจ การหวนคืนสู่ครอบครัว และความช่วยเหลือหลังพ้นโทษ เป็นต้น ซึ่งโครงการนำร่องดังกล่าว ได้ทดลองใช้แล้วที่เรือนจำกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยให้การอบรมแก่ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 34 ราย เป็นเวลาทั้งสิ้น 250 ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนพ้นโทษ
นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการติดตามความคืบหน้าคุณภาพชีวิตหลังพ้นโทษ เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูและคืนผู้ต้องขังคืนสู่สังคมชะงัก เนื่องจากข้อจำกัดในการติดต่อกับครอบครัวและบุตรของผู้ต้องขัง ขณะเดียวกัน มีปัจจัยเรื่องความกังวล และความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการให้ความรู้ การฝึกอาชีพต้องยกเลิกกลางครัน ทำให้ไม่สามารถสร้างความมั่นใจในแง่ของคุณภาพชีวิตหลังพ้นโทษของผู้ต้องขังได้

 

 

 

 

Spread the love
fuckidols.com sexy blonde creampie pov.
i was reading this https://banglachotixxx.me/
error: Content is protected !!