ก้าวใหม่ของมอสโกและกรุงเทพฯ ที่ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์

เทศกาลภาพยนตร์มอสโกในประเทศไทยที่เพิ่งจบสิ้นไป ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่จะสร้างสรรค์คอนเทนต์และผลิตผลงานมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการเห็นโอกาสที่จะร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ระหว่างสองประเทศ ถือเป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์มอสโกครั้งแรกของประเทศไทย ที่ทำการจัดทั่วประเทศกว่า 30 จังหวัด ตั้งแต่ในกรุงเทพฯพัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด

ซึ่งการจัดฉายภาพยนตร์รัสเซียทั่วเอเชียได้ดำเนินการโดยความร่วมมือของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งรัฐบาลมอสโก หน่วยงานอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์แห่งมอสโก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานนานาประเทศ JMCC โดยตลอดกว่าสองเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 มีภาพยนตร์ 5 เรื่องที่ทำการฉาย ณ โรงภาพยนตร์เครือ เอสเอฟ ซีเนม่า ทั่วประเทศไทย นับจากการเปิดตัวเทศกาลฯ ด้วยภาพยนตร์เรื่อง The Challenge (ท้าทายมฤตยูฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ) ผลงานเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทำในอวกาศจริง โดยมีตัวแทนจากสำนักงานวัฒนธรรม หน่วยงานเชิงสร้างสรรค์ บริษัทภาพยนตร์ชั้นนำของประเทศไทยและประเทศรัสเซีย บรรดาสื่อมวลชน รวมถึงตัวแทนจากวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย อาทิ นักแสดงและผู้อำนวยการสร้าง เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ภาพยนตร์รัสเซียที่ฉายในเทศกาลฯ มีหลากหลายประเภทตั้งแต่แนวดราม่าไปจนถึงแนวไซไฟ อย่างภาพยนตร์เรื่อง The Challenge (ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ) ที่มีผู้มาชมมากมาย อีกทั้งผู้ชมชาวไทยยังให้ความสนใจผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Upon the Magic Roads (คู่หูผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์) ซึ่งสร้างจากเทพนิยาย และภาพยนตร์ผจญภัยล่าสมบัติเรื่อง Raiders of the Lost Library (จารกรรมรหัสลับห้องสาปสูญ)นอกจากนี้ยังมีผู้ชมชาวไทยอีกมากมายที่สนใจเรื่อง Land of Legends (แผ่นดินมหาวีรบุรุษ) ภาพยนตร์ดราม่าอิงประวัติศาสตร์ และเรื่องสุดท้ายคือ Reversible Reality (ล่าลับโลกลวง) ภาพยนตร์ไซไฟระทึกขวัญ ซึ่งล้วนดึงดูดผู้ชมอย่างมากทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต

นอกจากจะมีการฉายภาพยนตร์แล้ว ยังมีการประชุมทางธุรกิจในเทศกาลภาพยนตร์มอสโกระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศไทยและประเทศรัสเซียอีกด้วย ซึ่งเทียบกับปี พ.ศ. 2566จำนวนบริษัทของประเทศไทยที่เข้าร่วมมีเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมว่าด้วยความสนใจการร่วมมือกันทางธุรกิจก็เพิ่มสูงขึ้น ในเรื่องการใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ การจัดซื้อรูปแบบของการจัดฉาย และการร่วมมือกันอำนวยการผลิตภาพยนตร์เรื่องใหม่ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2565ความสัมพันธ์ทางด้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ระหว่างมอสโกกับประเทศไทยก็มีปฏิสัมพันธ์กันมาอย่างต่อเนื่อง

หลังจากเทศกาลสัปดาห์งานดีไซน์ในเชียงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2565 ที่มอสโกมีส่วนร่วมในโปรแกรมของ Created in Moscow โดยในปี พ.ศ. 2566 ทางมอสโกได้พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศไทยในด้านธุรกิจและเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเข้าร่วมเทศกาลสัปดาห์งานดีไซน์ของกรุงเทพฯระหว่างงานนั้น ทางมอสโกได้นำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งคืองานผ้าแบบ LED ชุดแข่งกีฬาล้ำสมัยกระชับสัดส่วน กระจกแก้วไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีปรับสภาพให้โปร่งใสได้ ตามด้วยระบบตรวจจับวัตถุที่ผ่านการใช้จอสัมผัส และผลงานอีกหลายชิ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น การมีส่วนร่วมของบริษัทจากประเทศรัสเซียในสัปดาห์งานดีไซน์ครั้งนั้นเป็นผลมาจากความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย หน่วยงานอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์แห่งมอสโกและหน่วยงานด้านผู้ประกอบการและนวัตกรรมแห่งมอสโก

และจากการมาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 จึงได้เกิดข้อตกลงกันในการร่วมมือระหว่างมอสโกกับกรุงเทพฯ ในด้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566  เทศกาลสัปดาห์งานความคิดสร้างสรรค์ของชาติรัสเซีย ที่มอสโกมีการเปิดตัวซุ้มจัดแสดงของประเทศไทย โดยมีผู้เข้าชมกว่า 5,000 คน ที่มีโอกาสสัมผัสผลงานสุดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีจากประเทศไทยในด้านงานออกแบบ แฟชั่น เครื่องประดับต่างๆ แอนิเมชัน และเทคโนโลยีการศึกษาสุดล้ำเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566  งานเทศกาลไทยได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ณHermitage Garden ในมอสโก โดยงานครั้งนั้นมีผู้เข้าชมมากกว่า 120,000 คน และเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม พ.ศ. 2566  มีการจัดเทศกาลงานแสดงเต้นรำและดนตรีนานาชาติครั้งที่ 25 ณ กรุงเทพฯ โดยมีคณะละคร Helikon Opera จากมอสโก มาร่วมแสดงด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นก้าวใหม่ระหว่างสองประเทศ ที่จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และผลิตผลงานใหม่ๆ ในอนาคต

Spread the love
fuckidols.com sexy blonde creampie pov.
i was reading this https://banglachotixxx.me/
error: Content is protected !!